ข้อความวิ่ง

^3^ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บ้านของมินิเมย์...Mini May^3^

บทที่ 3

บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1.การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันสังคมเป็นสังคมสารสนเทศ ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าของทุกๆหน่วยงานไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก หน่วยงานที่สามารถจัดการข้อมูลได้ดีกว่าย่อมได้เปรียบกว่าในทุกๆด้าน ดังนั้นจึงได้มีความพยายามทำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีความถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด หากจะพิจารณาถึงการจัดการข้อมูลย่อมจะหมายถึง การจัดเก็บข้อมูลการเรียกใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้งาน ลองพิจารณาถึงคลินิกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานเล็กๆ ก็ยังต้องมีการเก็บรวมข้อมูลคนไข้ที่มารับการรักษา ข้อมูลที่ต้องการเก็บ ได้แก่ ประวัติส่วนตัวของคนไข้ อาการที่มารับการรักษา วิธีการรักษา และผลการรักษา วิธีหนึ่งที่ทำกันก็คือการจดบันทึกทั้งหมดลงบนกระดาษและเก็บกระดาษนั้นไว้ซึ่งมีหัวข้อที่ซ้ำกัน เช่น ข้อความของหัวข้อ ชื่อคนไข้ และที่อยู่ ฯลฯ หากเจ้าหน้าที่ต้องเขียนทุกใบก็จะเป็นการเสียเวลา ดังนั้นทางคลินิกอาจใช้วิธีจ้างโรงพิมพ์พิมพ์แบบฟอร์มขึ้นมาเพื่อให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น
ในการเก็บข้อมูลเหล่านี้ ทางคลินิกใช้ตู้เก็บเอกสารขนาดใหญ่สำหรับเก็บแบบฟอร์มและเรียงไว้ในลิ้นชัก เมื่อมีคนไข้ใหม่เพิ่มมากขึ้นก็เพิ่มแบบฟอร์มแผ่นใหม่เข้าไป และในการใช้ข้อมูลเมื่อมีคนไข้มาติดต่อ เจ้าหน้าที่ต้องค้นหาข้อมูลเดิมของคนไข้ วิธีหนึ่งทำได้คือตรวจข้อมูลบนบัตรคนไข้ทีละใบตั้งแต่ใบแรกจนพบ การค้นหาวิธีนี้อาจเสียเวลามากแต่ถ้าจัดเก็บข้อมูลโดยเรียงชื่อตามอักษรไว้แล้วจะทำได้รวดเร็วขึ้น
การจัดเก็บและดูแลข้อมูลที่ดี จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ และเป็นระเบียบ เพื่อทำให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและดูแลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถเรียกใช้ข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลได้ทันท่วงที เพราะฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเครื่องมือที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูล ก็คือ“ ระบบฐานข้อมูล ”

2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับการรวบรวมโดยข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งส่วนของพจนานุกรมข้อมูล เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร ้างฐานข้อมูล และข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น แก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบการรวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกันโดยขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออก แล้วเก็บข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อการใช้งานร่วมกันในองค์กร ภายในระบบต้องมีส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูลและจะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านั้นมีการกำหนดสิทธิข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนให้แตกต่างกันตามแต่ความต้องการในการใช้งาน

โครงสร้างของข้อมูล
    การเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์นั้น เป็นการเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึก เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นบันทึก หรือจานแม่เหล็ก โดยที่ฐานข้อมูลนั้นอยู่ในรูปของเลขฐานสองหลายบิตเรียงกัน ดังนั้นในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผล จึงต้องกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน โดยโครงสร้างของข้อมูลจะประกอบด้วย 5 ลำดับ ดังนี้
   (1) บิต ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่าบิตคือตัวเลขโดดในระบบเลขฐานสอง ซึ่งมีค่าได้เพียง 0 หรือ 1 บิตเป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์
   (2) ตัวอักขระ ( character) หมายถึงตัวอักขระแต่ละตัว ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษรหรือเครื่องหมายใด ๆ การแทนตัวอักขระแต่ละตัวในคอมพิวเตอร์ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งเราเรียกอีกอย่างว่าไบต์
   (3) เขตข้อมูล (field) หมายถึงหน่วยข้อมูลหน่วยหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง เขตข้อมูลแต่ละเขตประกอบด้วยตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
   (4) ระเบียนข้อมูล ( record) หมายถึงกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ระเบียนข้อมูลประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตขึ้นไป
   (5) แฟ้มข้อมูล ( file) หมายถึงกลุ่มของระเบียนข้อมูลแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนข้อมูลตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
พิจารณาการเก็บประวัติของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประวัติของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ จะบันทึกลงในระเบียนประวัติหนึ่งใบ โดยประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือน ปีเกิด ฯลฯ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ และใบระเบียนประวัติของนักเรียนในโรงเรียนจะได้รับการจัดเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกัน



แสดงตัวอย่างการจัดเก็บประวัตินักเรียน
จากรูปจะเห็นว่า นักเรียนแต่ละคนมีประวัติ 1 ใบ หรือ 1 ระเบียน เก็บอยู่ในแฟ้มประวัตินักเรียนทั้งโรงเรียน เมื่อดึงประวัตินักเรียน 1 คนมา พิจารณา จะประกอบด้วยเขตข้อมูลรายละเอียดดังรูปทางขวามือและจากรูปสามารถสรุปได้ว่า
ระเบียนประวัติของนักเรียนทั้งหมดเรียกว่า แฟ้มข้อมูล ประวัตินักเรียนของโรงเรียน
ระเบียนประวัติของนักเรียนแต่ละคนเรียกว่า ระเบียนข้อมูล ประวัตินักเรียน
ข้อมูลแต่ละค่าในระเบียนประวัติ เรียกว่า เขตข้อมูล ประวัตินักเรียนซึ่งอาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ


สำหรับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะมีการจัดเหมือนกับการจัดข้อมูลทั่วไป คือ เป็นแฟ้มข้อมูล ระเบียนข้อมูล และเขตข้อมูล จากภาพการจัดการข้อมูลทั่วไปในรูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียนนั้น สามารถจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ได้ดังรูป โดยจะเห็นว่าแฟ้มข้อมูลอยู่ในรูปตารางสองมิติ และแต่ละแถวจะแสดงระเบียนแต่ละระเบียน และแต่ละสดมภ์จะแสดงเขตข้อมูลต่าง ๆ แต่ละเขตข้อมูลที่มีชื่อกำกับบอกไว้ จะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์ของข้อมูลจะสัมพันธ์กันในแต่ละระเบียน โดยมีความหมายในตัวเองและไม่เกี่ยวข้องกับลำดับระเบียน
 ในการจัดเก็บข้อมูลต้องกำหนดคุณสมบัติของข้อมูลให้ชัดเจนตลอดจนวิธีการเตรียม ข้อมูลเพื่อการประมวลผลดังต่อไปนี้
(1) กำหนดชื่อและจำนวนเขตข้อมูลในระเบียนข้อมูล เช่น ในระเบียนข้อมูลนักเรียนในรูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียนในคอมพิวเตอร์ อาจประกอบด้วยเขตข้อมูลจำนวน 6 เขต คือ
        เขตข้อมูลที่ 1 ชื่อเขตข้อมูล ID หมายถึง เลขประจำตัวนักเรียน
        เขตข้อมูลที่ 2 ชื่อเขตข้อมูล NAME หมายถึง ชื่อสกุลนักเรียน
        เขตข้อมูลที่ 3 ชื่อเขตข้อมูล SEX หมายถึง เพศของนักเรียน
        เขตข้อมูลที่ 4 ชื่อเขตข้อมูล BIRTHDAY หมายถึง วันเดือนปีเกิดของนักเรียน
        เขตข้อมูลที่ 5 ชื่อเขตข้อมูล FA_ NAME หมายถึง ชื่อบิดาของนักเรียน
        เขตข้อมูลที่ 6 ชื่อเขตข้อมูล MO_NAME หมายถึง ชื่อมารดาของนักเรียน
(2) กำหนดชนิดและขนาดของเขตข้อมูลแต่ละเขต เช่น เขตข้อมูล NAME เป็นตัวหนังสือมีขนาดที่เก็บ 30 ตัวอักษร
(3) กำหนดวิธีการและสื่อในการจัดเก็บข้อมูล แฟ้มข้อมูลจะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลนี้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้


3. ระบบฐานข้อมูล
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น ระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มดังตัวอย่างในรูป แฟ้มข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการจัดระบบแฟ้มไว้อย่างดี กล่าวคือ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดียวกันต้องไม่มีการซ้ำซ้อนกัน แต่ระหว่างแฟ้มข้อมูลอาจมีการซ้ำซ้อนกันได้บ้าง และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล และค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถ เพิ่มเติม หรือลบออกได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลอื่นเสียหาย



แฟ้มแต่ละแฟ้มในฐานข้อมูล แสดงให้เห็นว่า แฟ้มข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลอาจมีความสัมพันธ์กัน โดยความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลแสดงโดยเส้นตรงเชื่อมโยงระหว่าง 2 แฟ้มข้อมูลสมมติว่าแฟ้มข้อมูลอาจารย์ประกอบด้วยเขตข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ชื่อ ตำแหน่ง เงินเดือน ที่อยู่ ฯลฯ ส่วนแฟ้มข้อมูลนักเรียนนั้นอาจประกอบด้วยเขตข้อมูล เลขประจำตัวนักเรียน ชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ และต้องมีตัวชี้ว่ามีใครเป็นอาจารย์ประจำชั้น ในแฟ้มข้อมูลนักเรียนอาจเก็บชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาไว้เพื่อเป็นตัวชี้ก็ได้ แต่จะทำให้เสียเนื้อที่การเก็บข้อมูลมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องหาทางสร้างตัวชี้ที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น สร้างรหัสอาจารย์ประจำชั้นเพื่อเป็นตัวชี้แทนชื่อของอาจารย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น